วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

แหล่งที่มาของข้อมูล


ผศ.มณฑล ใบบัว,หลักการและทฤษฎีการสื่อสาร,พิมพ์ครั้งที่ 1 , สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ, ปีพ.ศ. 2536, หน้า 1 ,4-6,22,33.

วิวัฒนาการการสื่อสาร,(14 สิงหาคม 2554), Avialable URL: http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/5/communication/index.htm

วิวัฒนาการการสื่อสาร,(14 สิงหาคม 2554),Available URL: std.kku.ac.th/4630801725/Technology%20Internet/e-mail.doc

เคอร์ซัส พับลิคัส,(14 สิงหาคม 2554), Available URL: http://www.thaigoodview.com/node/7840

ระบบไปรษณีย์,(14 สิงหาคม 2554), Available URL: www.panyathai.or.th/wiki/index.php/ไปรษณีย์ไทย

โทรเลข,(14 สิงหาคม 2554), Available URL: www.panyathai.or.th/wiki/index.php/โทรเลข

โทรเลข,(13 กันยายน 2554), Available URL: http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/5/communication/index2.htm

โทรพิมพ์,(13 กันยายน 2554), Available URL: http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/5/communication/index3.htm

นกพิราบสื่อสาร, (13 กันยายน 2554), Available URL : http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=40&i2=26

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

การสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต



          เมื่อการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มาถึงจุดที่ค่อนข้างจะอิ่มตัว ก็ได้มีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นมาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ในปัจจุบันเราสามารถพูดคุยกับเพื่อนได้ทั่วโลกโดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตและมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้โทรศัพท์ นอกจากนี้ก็สามารถใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการจัดการเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตและค้นหาข้อมูลต่างๆได้อีกด้วย

              การสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้หลายทางด้วยกัน ดังนี้
1.จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
              เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมากเนื่องจากผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาอันสั้นไม่ว่าจะอยู่ในที่ทำงานเดียวกันหรืออยู่ห่างกันคนละมุมโลกก็ตาม นอกจากนี้ยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยมาก
2.การสืบค้นข้อมูลแบบเครือข่ายใยแมงมุม (World Wide Web: www.)
               เป็นการสื่อสารที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในอินเตอร์เน็ตด้วยเหตุผลที่สำคัญคือง่ายต่อการใช้งานและสามารถนำเสนอข้อมูลแบบกราฟิกได้การใช้ World Wide Web เปรียบเสมือนการเข้าไปอ่านหนังสือในห้องสมุด โดยหนังสือที่มีให้อ่านจะสมบูรณ์มากกว่าหนังสือทั่วไป เพราะสามารถฟังเสียงและดูภาพเคลื่อนไหวประกอบได้ นอกจากนี้ยังสามารถโต้ตอบกับผู้อ่านได้ด้วย ข้อมูลต่างๆ จะมีการเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยคุณสมบัติของ Hypertext Link
                การที่จะเข้าไปอ่านข้อมูลเหล่านี้ได้ผู้ใช้จะต้องมี Web Browser ซึ่งนิยมใช้กันในขณะนี้ เช่น Internet Explorer ปัจจุบันได้มีการประยุกต์กิจกรรมอื่นไว้ภายใน World Wide Web ด้วย อาทิ การโฆษณากิจกรรม รวมถึงความบันเทิงต่างๆ เช่น การดูหนังฟังเพลง และชมรายการต่างๆทางสถานีโทรทัศน์

 
3. การโอนย้ายข้อมูล (File Transfer Protocol: FTP)
            เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากพอสมควรในอินเตอร์เน็ตโดยอาจใช้เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลรวมถึงโปรแกรมต่างๆจากแหล่งข้อมูลทั้งหลายมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้งานอยู่ ปัจจุบันมีหน่วยงานหลายแห่งที่กำหนดให้ Server ของตนทำหน้าที่เป็น FTP Site เก็บรวบรวมข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ สำหรับให้บริการการเข้าไปขอถ่ายโอนข้อมูลนั้นผู้ใช้ต้องทราบชื่อเครื่องที่ตั้งเป็น FTP Server และสิทธิที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำ FTP

 
4. การแลกเปลี่ยนข่าวสาร (Usenet)
             มีที่มาจากกระดานประกาศข่าว หรือ Bulletin Board กล่าวคือ ผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันจะรวมกลุ่มกันตั้งเป็นกลุ่มข่าวของแต่ละประเภท เมื่อมีข้อมูลใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกผู้อื่นหรือมีปัญหาหรือคำถามที่ต้องการความช่วยเหลือหรือคำตอบ ผู้นั้นก็จะส่งข้อมูลของตนเข้าไปติดประกาศไว้ในอินเตอร์เน็ต โดยเครื่องที่ทำหน้าที่ติดประกาศคือ News Server เมื่อสมาชิกอื่นอ่านพบ ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมหรือมีบางอย่างไม่ถูกต้อง หรือมีคำตอบที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้สมาชิกเหล่านั้นก็จะส่งข้อมูลตอบกลับไปติดประกาศไว้เช่นกัน

5. การเข้าใช้เครื่องระยะไกล Telenet
             เป็นการขอเข้าไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตจากระยะไกล โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปนั่งอยู่หน้าเครื่องนั้น เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนี้อาจอยู่ภายในสถานที่เดียวกับผู้ใช้ หรืออยู่ห่างกันคนละทวีปก็ได้ แต่ทั้งนี้ผู้ใช้ต้องมี account และรหัสผ่านจึงจะสามารถเข้าใช้เครื่องดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งในการทำงานนั้นขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการของเครื่องที่เข้าไปขอใช้

6. การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือ Chat
              เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง คือ สามารถสื่อสารโต้ตอบกันได้ทันทีเหมือนการใช้โทรศัพท์ สามารถทำได้ทั้งแบบ Text-based และ Voice-based โปรแกรมที่นิยมใช้คือ Talk ซึ่งเป็นการพิมพ์โต้ตอบระหว่างคนสองคน Internet phone เป็นการคุยกันด้วยเสียงแบบเดียวกับโทรศัพท์ Skype และ MSN ซึ่งสามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันและสามารถพูดคุยกันแบบวีดีโอคอลได้อีกด้วย

7. บริการส่งข้อความทางอินเตอร์เน็ต
                เป็นการส่งข้อความในรูปแบบของข้อความสั้นๆ (Short Message) ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้ส่งสัญญาณไปยังอุปกรณ์สื่อสารประเภทไร้สาย ได้แก่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือเพจเจอร์ เป็นต้น

8. Remote Login
                เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถติดต่อผ่าน Telenetเข้ากับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล และคอมพิวเตอร์นั้นค้นหาสารสนเทศ แหล่งบริการสารสนเทศ เช่น รายการบัตรของห้องสมุด (Online Public Access Catalog: OPAC) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดแต่ละแห่งทั่วโลกจัดทำขึ้น และเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย

 

การประชุมทางไกล

       
           การสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้การดำเนินชีวิตคนเรามีความสะดวกสบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานต่างๆที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศสามารถประชุมกันได้โดยไม่ต้องมาเข้าห้องประชุมเดียวกันและในการประชุมก็ไม่ต้องมีเอกสารเป็นปึกๆเหมือนแต่ก่อน เพราะว่าเอกสารต่างๆจะอยู่ในรูปแผ่นดิสก์หรืออยู่ในเครือข่ายที่สามารถดึงข้อมูลออกมาได้ทันที

โทรศัพท์



         
          เมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถแปลงเสียงพูดให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าได้  อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม  เบลล์ (Alexander  Graham Bel)  จึงได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นมาซึ่งโทรศัพท์นั้นจะมีการเปลี่ยนสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายโทรศัพท์ แล้วโทรศัพท์ปลายทางจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณไฟฟ้านั้นกลับมาเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเดิม และเรียกการสื่อสารในลักษณะนี้ว่าโทรศัพท์แบบใช้สายหรือโทรศัพท์บ้าน  
ในตอนที่มีโทรศัพท์บ้านใหม่ๆ ถือได้ว่าการสื่อสารแบบนี้เป็นการสื่อสารที่มีความสะดวกมาก แต่เนื่องจากมนุษย์นี้มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุดเมื่อใช้โทรศัพท์บ้านไปนานๆคนก็เริ่มรู้สึกว่าโทรศัพท์บ้านนี้ไม่สะดวก คุยโทรศัพท์แล้วจะเดินไปเดินมาก็ไม่ได้ หรือไปเที่ยวป่า เขา ทะเล  ก็คุยกับเพื่อนไม่ได้   ต่อมาเมื่อนักวิทยาศาสตร์พบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งสามารถเดินทางไปในที่ต่างๆได้โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง จึงได้มีการประดิษฐ์โทรศัพท์ไร้สายขึ้น แล้วคนไทยได้ตั้งชื่อโทรศัพท์แบบนี้ว่า โทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันพัฒนามาจากวิทยุโทรศัพท์ที่ตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครใช้ในการติดต่อสื่อสารกันภายในหน่วยงาน

เครื่องโทรพิมพ์



                  เครื่องพิมพ์ที่มีการเชื่อมประสาน (interface) กับเครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถแสดงผลได้ด้วยการพิมพ์ลงบนกระดาษและรับข้อมูลผ่านไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ เครื่องพิมพ์ชนิดนี้ทำงานภายใต้การควบคุมของหน่วยประมวลผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถพิมพ์ได้เร็วประมาณ 10 - 15 ตัวอักษรต่อวินาที เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีลักษณะเหมือนเครื่องปลายทาง (terminal) ที่อาจอยู่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือห่างออกไปไกล ๆ ก็ได้ สามารถทำได้ทั้งส่งและรับข้อมูล มีความหมายคล้าย teletypewriter
เนื่องจากการสื่อสารกันด้วยโทรเลขค่อนข้างยุ่งยากและต้องใช้ผู้ที่ชำนาญเป็นอย่างมากและใช้เวลาฝึกฝนเป็นปีจึงจะสามารถรับหรือส่งข้อความต่างๆได้ เนื่องจากผู้รับหรือส่งจะต้องจำรหัสให้ได้ทุกตัวตั้งแต่ ก ไก่ จนถึง ฮ นกฮูก และสระทุกตัว หรือถึงแม้เจ้าหน้าที่บางคนจะจำรหัสได้ทุกตัว แต่บางคนก็ไม่สามารถรับข้อความได้ เนื่องจากสัญญาณเหล่านี้จะมาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ถ้าไม่ชำนาญจะไม่สามารถรับข้อความเหล่านี้ได้ ต่อมาเมื่อวิทยาการก้าวหน้าขึ้น ได้มีการประดิษฐ์เครื่องโทรพิมพ์เพื่อทำหน้าที่ในการส่งและรับโทรเลขแทนคนเครื่องโทรพิมพ์นี้ก็ใช้หลักการทำงานเช่นเดียวกับโทรเลขแต่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องจำรหัสตัวอักษรต่างๆ ในการส่งโทรเลขด้วยเครื่องโทรพิมพ์ ผู้ส่งก็เพียงแต่พิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการส่งลงไปในเครื่องโทรพิมพ์ เครื่องโทรพิมพ์ก็จะเจาะรูบนแถบกระดาษให้เป็นรหัสมอร์ส                   
ในการส่งโทรเลขด้วยเครื่องโทรพิมพ์ก็เพียงแต่นำแถบกระดาษที่เจาะรูแล้ว ไปป้อนให้กับเครื่องส่งโทรพิมพ์ เครื่องส่งโทรพิมพ์ก็จะส่งเป็นสัญญาณโทรเลขออกไป ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเครื่องส่งโทรพิมพ์ก็คือเครื่องส่งโทรเลขที่ไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่เคาะคันเคาะเหมือนกับการส่งโทรเลข

โทรเลข (telegraph)


         

          โทรเลข (telegraph) คือ ระบบโทรคมนาคมซึ่งใช้อุปกรณ์ทางไฟฟ้าส่งข้อความจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เดิมส่งโดยอาศัยสายตัวนำที่โยงติดต่อถึงกันและอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าเป็น หลักสำคัญ แต่ระยะหลังมีการใช้วิธีการส่งสัญญาณไร้สาย ที่เรียกว่า วิทยุโทรเลข (radio telegraph, wireless telegraph หรือ continuous wave ย่อว่า CW
         เครื่องมือสำคัญของโทรเลขคือแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ปลายทางจะมีแท่งเหล็กอ่อนพันด้วยลวดไฟฟ้าที่มี ฉนวนหุ้มบาง ๆ ปลายลวดไฟฟ้าข้างหนึ่งจะต่อไปที่ขั้วไฟฟ้าส่วนปลายลวดอีกข้างหนึ่งก็ต่อเข้าอีกขั้วหนึ่งของเซลล์ไฟฟ้า แท่งเหล็กอ่อนนี้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลรอบก็จะเป็นแม่เหล็กไฟ ฟ้าดูดเข็มหรือสารแม่เหล็กได้
        โดยหลักการนี้จึงทำให้เกิดเป็นสัญญาณโทรเลขเป็นแบบจุดและขีด ตามรหัสของมอร์ส เมื่อแปลงเป็นตัวอักษรผสมกันก็จะเป็นสารนิเทศระหว่างกันได้
                ในการส่งโทรเลขจะต้องมีคนเคาะคันเคาะเพื่อส่งกระแสไฟฟ้าในรูปของสัญญาณสั้น-ยาวสลับกันไปสัญญาณนี้จะวิ่งไปตามสายโทรเลขและในการส่งโทรเลขเจ้าหน้าที่ต้องจำรหัสของตัวอักษรและสระได้ทุกตัวอย่างเป็นอย่างดีจึงจะสามารถส่งโทรเลขได้

ระบบไปรษณีย์


         
ระบบไปรษณีย์ คือ ระบบที่มีการส่งจดหมายหรือพัสดุจากผู้ส่งไปยังผู้รับโดยผ่านองค์กรที่ทำหน้าที่ในด้านระบบไปรษณีย์ โดยผู้รับจะได้รับจดหมายหรือพัสดุที่ผู้ส่งส่งมานี้โดยพนักงานไปรษณีย์จะนำไปส่งให้แก่ผู้รับตามที่อยู่ที่ผู้ส่งได้เขียนกำกับไว้
การส่งเอกสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยใช้คนส่งสารนั้นมีมานานพอ ๆ กับการคิดค้นการเขียน ระบบส่งสารมีการจัดตั้งในประเทศจีนเมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล ในอียิปต์และ ดินแดนอัสซิเรีย (Assyria) เมื่อ 3000 ปีก่อนคริสตกาล จดหมายที่เก่าแก่เท่าที่ยังเหลือให้เห็นในปัจจุบันมีลักษณะเป็นแผ่นดินเหนียวจารึกอักษรูปลิ่มของอียิปต์ซึ่งสอดอยู่ในซองดินเหนียวอีกที
             แต่ระบบการส่งสารที่จัดตั้งเป็นระบบเกิดขึ้นหลังจากนั้นมากเท่าที่มีการบันทึกไว้ ในสมัยฟาโรห์ของอียิปต์ตั้งแต่ 2400 ปีก่อนคริสตกาลมีการส่งราชโองการจากฟาโรห์ไปยังท้องที่ต่าง ๆ ที่ปกครองอยู่ ต่อมาจึงพัฒนาระบบไปรษณีย์ที่ให้บริการกับประชาชน โดยระบบเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีหลักฐาน คือที่อัสซิเรีย ริเริ่มตั้งแต่ 500 ปีก่อนคริสตกาลเป็นอย่างน้อย อีกตัวอย่างหนึ่งคือ จีน มีการวางระบบในสมัยราชวงศ์จิ๋น ประมาณ 200 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งระบบไปรษณีย์ของจีนนี้นับว่าเป็นระบบเก่าแก่ที่สุดที่ยังคงให้บริการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

เคอร์ซัส พับลิคัส



          เคอร์ซัส พับลิคัส เป็นระบบการติดต่อสื่อสารของโรมันเป็นการใช้วิธีการติดต่อสื่อสารแบบส่งเป็นทอดๆ หรือวิ่งผลัด ซึ่งทำให้การส่งข่าวสารผ่านตลอดทั่วแดนได้โดยง่าย มีความสะดวก คล่องตัวขึ้น รวมทั้งมีการตรวจตราอย่างเข้มงวด มีเครือข่ายโยงใยในระบบตรวจสอบของรัฐ ซึ่งจะการันตีเรื่องความแม่นยำ และความน่าเชื่อถือในเรื่องของหลวงได้ดีด้วย แม้ในตอนที่อาณาจักรโรมันแตกระบบเคอร์ซัส พับลิคัส นี้ก็ยังคงยืนหยัดใช้กันอยู่พอสมควร

นกพิราบ


นกพิราบสื่อสาร (Homing pigeon) เป็นนกพิราบเลี้ยงที่มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Columba livia เนื่องจากเป็นนกที่มีสัญชาตญาณในการจำทิศทางบินกลับถิ่นกำเนิดของตนและจำแหล่งที่เคยกินน้ำ และเมล็ดธัญพืชได้อย่างแม่นยำรวมทั้งสามารถบินได้เป็นระยะทางไกลๆโดยไม่ต้องหยุดพักระหว่างทางจึงทำให้มีผู้สนใจศึกษาจนสามารถปรับแต่งพฤติกรรมนี้ด้วยการคัดเลือกพันธุ์เลี้ยงบำรุงและฝึกฝนเพื่อใช้ประโยชน์ในการช่วยส่งข่าวสารกลับไปยังตำแหน่งที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ได้ ดังนั้นนกพิราบที่จะใช้ส่งข่าวสารจึงจำเป็นต้องได้รับการฝึกหัดเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุถึงเกณฑ์ก่อนที่จะนำไปใช้ในการทำงาน เช่น การใช้ให้นำจดหมายกลับบ้าน หรือช่วยในการนำส่งข้อมูลกลับเมื่อเจ้าของนำนกติดตัวไปทำธุรกิจที่อื่นแม้กระทั่งสามารถนำส่งข่าวสารสำคัญกลับไปยังหน่วยบัญชาการทางทหาร เป็นต้น
มีหลักฐานบันทึกไว้ว่าชาวอียิปต์โบราณเป็นผู้ริเริ่มใช้นกพิราบในการสื่อสารและกีฬาแข่งนกซึ่งต่อมาเป็นที่นิยมกันมากในกลุ่มชาวกรีกและชาวโรมัน และได้แพร่หลายไปจนถึงประเทศย่านตะวันออกกลาง ในระยะต่อมากิจกรรมการฝึกนกพิราบเพื่อใช้ประโยชน์ได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ และเป็นที่นิยมกันถึงขั้นจัดตั้งขึ้นเป็นกิจการนกพิราบไปรษณีย์ (regular pigeon-post) ขึ้นในประเทศกลุ่มทวีปยุโรป รวมทั้งมีการฝึกเพื่อนำไปสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารอีกด้วย ต่อมากิจการนกพิราบไปรษณีย์ก็มีอันต้องยกเลิกไปเมื่อความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารดีขึ้น เช่นการประดิษฐ์เครื่องโทรเลขตลอดจนกิจการวิทยุพลเรือนได้ช่วยให้งานบริการด้านสื่อสารและไปรษณีย์สะดวกแน่นอนและรวดเร็วมากกว่าการส่งโดยนกพิราบมากแม้ว่าในปัจจุบันนกพิราบสื่อสารจะหมดความจำเป็นลงสืบเนื่องมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร แต่ก็ยังมีกลุ่มบุคคลผู้นิยมเลี้ยงนกพิราบแข่งระดับชาติทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศและจัดตั้งเป็นสมาคมและสหพันธ์กีฬาแข่งนกพิราบอยู่เป็นจำนวนมากรวมทั้งจัดให้มีการแข่งขันกันอยู่เสมอ นับเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้มีการอนุรักษ์นกพิราบสายพันธุ์ดีมีสมรรถภาพในการบินสูงซึ่งอาจมีความจำเป็นใช้ประโยชน์ในอนาคตอีกก็เป็นได้